Enterprise Architecture หรือ สถาปัตยกรรมองค์กรนั้น
เป็นโครงสร้างซึ่งรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างในองค์กรเข้าไว้ด้วยกัน เริ่มตั้งแต่กลยุทธ์ทางธุรกิจ แผนผังองค์กร กระบวนการทำงาน ความเสี่ยงในองค์กร ข้อมูลสนับสนุนการทำงาน ระบบซอฟท์แวร์ต่างๆ โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที และระบบความปลอดภัยภายในองค์กร
Enterprise Architecture เป็นเอกสารที่ช่วยให้เราคิดวิเคราะห์ทำความเข้าใจองค์กรได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างองค์กรในอนาคต ตามแนวทางกลยุทธ์ขององค์กรที่วางไว้ คือการสร้าง 1 Model เพื่อสื่อสารกับทุกคนในองค์กร มันจะผิดจะถูกอย่างไร ก็ให้มองเป็นภาพเดียวกันทั้งองค์กร หากถูกก็จะสามารถกำหนดรูปแบบการเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น แต่หากผิดคนในองค์กรก็มีภาพเดียวกันที่จะเห็นถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขในทิศทางเดียวกัน
ธุรกิจจะดำรงอยู่ได้จำเป็นต้องมีปัจจัยต่างๆ มาสนับสนุน การที่เราจะทำผลิตภัณฑ์ออกมานั้น จำเป็นต้องมีกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์นั้น และกระบวนการทำงานเหล่านั้นจำเป็นจะต้องอาศัยข้อมูล และระบบซอฟท์แวร์เข้ามาช่วยสนับสนุน ซึ่งข้อมูลและซอฟท์แวร์ต่างๆ ก็จะต้องถูกจัดเก็บไว้บนฮาร์ดแวร์ ที่เชื่อมต่อกันเป็นเน็ตเวิร์ค
ที่มา: S. Aziz et al., Enterprise architecture: the governance framework, whitepaper, September 2005.
การสร้าง Enterprise Architecture ที่ดีนั้นต้องสามารถตอบโจทย์กลยุทธ์ของธุรกิจ โดยทำในรูปแบบ Road Map เพื่อกำหนดทิศทางขององค์กร ก่อนที่จะจดทะเบียนบริษัทจากนั้นเราจะเอาโครงการทั้งหมดมาศึกษาและดูว่าโครงการใดที่จะตอบสนองธุรกิจในอนาคต โดยความร่วมมือของ CEO และ CIO ที่จะต้องร่วมกันกำหนดกลยุทธ์และทิศทางของธุรกิจและ IT ไปในทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนในการพัฒนาโครงการโดยการจัดลำดับความสำคัญของโครงการที่จะทำกำไรหรือตอบสนองกลยุทธ์ของธุรกิจจากมากไปหาน้อย
โดยวิธีการนี้จะช่วยลดต้นทุนในการเลือกลงทุนในโครงการที่เหมาะสมได้ ในส่วนสุดท้ายคือการสำรวจ “โครงสร้างทั้งหมดของ IT” ทั้งระบบ (Infrastructure + Software) เพื่อดูว่าระบบในองค์กรมีการทำงานที่ซ้ำซ้อนกันหรือไม่ โดยการทำ Gap Analysis และสุดท้ายก็มาทำโครงสร้าง Architecture ขององค์กรในที่สุด
Enterprise Architecture สามารถแบ่งได้เป็น architecture ย่อยๆ ดังนี้
- Business Architecture เพื่อแสดงกลยุทธ์ขององค์กร (Strategy) ที่จะขับเคลื่อนให้บรรลุยังเป้าหมายขององค์กร (Goals) Business Process และ Workflows ของแต่ละฝ่าย และแผนผังองค์กร (Organization Chart)
- Information Architecture อธิบายถึงโครงสร้างข้อมูลขององค์กร การจัดเก็บข้อมูลในเชิง logical and physical การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง business processes, stakeholders และระบบต่างๆ
- Application Architecture เพื่อแสดงให้เห็นว่าในองค์กรจะต้องมีระบบโปรแกรมหรือระบบไอทีอะไรบ้าง ในการที่จะตอบโจทย์ของธุรกิจต่างๆ การเชื่อมต่อระหว่างการใช้งานระบบต่างๆ
- Technology/Infrastructure Architecture เพื่อแสดงโครงสร้าง Hardware Software หรือแม้กระทั่ง Telecom Network ในองค์กร
ที่มา: S. Aziz et al., Enterprise architecture: the governance framework, whitepaper, September 2005.
แผน EA นอกจากจะช่วยให้เราได้ผังหลักๆ 4 ด้านนี้แล้ว เราอาจจะเห็นผังย่อยๆ ในเรื่องต่างๆดังแสดงในรูป
Enterprise Architecture แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการแบ่ง Enterprise Architecture ออกเป็นองค์ประกอบย่อยๆ นั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละองค์กร บางองค์กรอาจจะเห็นว่า ความมั่นคงปลอดภัยเป็นสาระสำคัญขององค์กรเช่น หน่วยงานทหาร หรือธุรกิจธนาคาร ก็อาจจะมี Security architecture เพิ่มเติมขึ้นมา หรือในปัจจุบันมีการพูดถึงแนวความคิดด้าน SOA หรือ Service Oriented Architecture กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้นองค์กรที่ต้องการจะมุ่งไปสู่แนวความคิดนี้จึงขาดเสียมิได้ที่จำเป็นจะต้องมี Service Architecture จึงมิได้มีข้อกำหนดตายตัวแน่นอนว่า Enterprise Architecture จำเป็นจะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละองค์กร
อ้างอิง
- http://softwareparkthailand.wordpress.com/2011/04/20/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2-introduction-to-enterprise-architecture/
- http://www.netizen.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=25&Itemid=38
- http://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egea/?page_id=47
บทความจาก https://www.etda.or.th/content/916.html